top of page

พุทธสถานพระโบราณวัดป่ายางน้อย

ป่ายางน้อย1.jpg

    ไม่ไกลจากวัดโพธิ์ชัย คือ พุทธสถานพระโบราณวัดป่ายางน้อย ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของวัดโพธิ์ชัย บ้านป่ายางน้อย ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย

จากข้อมูลเว็ปไซด์ และจากการสัมภาษณ์พบว่า พระพุทธสถานวัดโพธิ์ชัย เดิมเป็นกู่โบราณขุดพบพระพุทธรูปโบราณ ค้นพบโดย นายม่อม ณ ชัยภูมิ  ซึ่งเป็นชาวบ้านป่ายางมน ขณะที่ตัดหญ้าในที่นาของตนเอง ซึ่งบริเวณที่พบพระพุทธรูปโบราณเป็นจอมปลวกหลังจากนั้นนายม่อนได้ขุดดินในบริเวณจอมปลวกไปเจออิฐก่อนที่จะเจอหัวเข่าพระพุทธรูปโบราณถูกฝังดินไว้ วันที่พบเจอ วันที่ 7 กรกฎาคม 2518  ในเวลาต่อมามีผู้นำชาวบ้านนำโดย นายสกล เครือวงค์ และชาวบ้านรวมตัวกันช่วยกันขุดพระและได้มีการแจ้งไปทางกรมศิลป์เข้ามาจดทะเบียน หลังจากนั้นพ่อเลี้ยงสันติ เจ้าของไร่สันติเชียงราย ได้มีความเลื่อมใสจึงได้ร่วมกับชาวบ้านสร้างศาลาไม้ครอบพระพุทธรูปโบราณไว้ พระพุทธรูปโบราณพุทธสถานวัดโพธิ์ชัย ซึ่งมีขนาดตักกว้าง 49 นิ้ว สูง 54 นิ้วเป็นพระพุทธรูปศิลปะบัวละ (อินเดีย) สมัยเชียงแสน เชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีอายุเก่าในช่วงยุคหริภุญไชย

     ต่อมาประมาณปี 2544 มีเหตุการณ์การบุกโจรกรรมพระพุทธรูปโบราณ

ได้บุกเข้าไปโจรกรรมพระพุทธรูป โดยนำรถยกคันเล็กโจรกรรมองค์พระไปทั้งองค์

ชาวบ้านที่พบเห็นนำความไปบอกหลวงพ่อวัดโพธิ์ชัย หลวงพ่อจึงแจ้งความ เจ้าหน้าที่จึงเข้าจับกุมในวันนั้น ปี พ.ศ. 2551  

     หลวงพ่อแสวง พระภิกษุที่เข้ามาจำพรรษาอยู่พุทธสถานพระโบราณบ้านป่ายางน้อย ประมาณ 2 พรรษา ได้เห็นสภาพศาลาที่ชำรุด จึงมีความคิดที่จะรื้อศาลาหลังเก่าออก เพราะอาจจะเกิดอันตรายกับชาวบ้านที่เข้ามาสักการะพระพุทธรูปได้ หลวงพ่อจึงมีการปรึกษากับพระชั้นผู้ใหญ่และผู้นำชุมชน  ด้วยเหตุนี้จึงทำการรื้อศาลาและสร้างใหม่แทน ในระหว่างการดำเนินการรื้อถอนนั้น หลวงพ่อและชาวบ้านมีเห็นว่า พระพุทธรูปอยู่ติดดินและชำรุดผุพัง จึงเกรงว่าจะชำรุดไปมากกว่านี้ จึงทำการบูรณะซ่อมแซม นำลวดเข้าหุ้มทำเป็นโครงรอบองค์พระแล้วนำปูนมาปั้นขึ้นใหม่ทับองค์เดิม แล้วจึงช่วยกันยกพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานไว้บนวิหาร โดยไม่รู้ว่าเป็นการทำผิดต่อทางกฎหมายกรมศิลปากร ต่อจากนั้นไม่นานได้มีคนไปร้องเรียนทางกรมศิลปากร ซึ่งในขณะนั้นวิหารกำลังก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ ทางกรมศิลป์จึงมีคำสั่งให้หยุดการก่อสร้างวิหารทั้งหมด

     พื้นที่บริเวณรอบและพุทธสถานเป็นที่ดินของ นายไพจิตร ธรรมโรจน์พินิจ (ป.ประตูน้ำ) หลังจากนายไพรจิตมีการซื้อที่ดินไว้ เมื่อทราบว่าในเขตที่ดินของตนเองมีการพบพระโบราณ จึงมอบที่ดินที่เป็นพุทธสถานให้กับชาวบ้านป่ายางน้อย ให้สร้างวัด หากสร้างวัดได้ จะบริจากที่ดินบริเวณรอบๆให้อีก 10 ไร่ หลังจากเกิดเหตุมานานหลายปีจนถึงปัจจุบัน หากชาวบ้านต้องการที่จะก่อสร้างวิหารต่อ เพราะสร้างไว้เกือบจะเสร็จแล้ว กรมศิลป์ได้ชี้แจงว่าพุทธสถานจะต้องถูกถอดถอน 

     โบราณสถานพระพุทธรูปวัดป่ายางน้อย หมู่ที่ 10 แยกมาจากบ้านโพธิ์ชัย หมู่ที่ 7 ตําบลเวียงเหนือ อําเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย เดิมพระพุทธรูปองค์นี้กรมศิลปากรได้ขึ้นไว้ว่าเป็น พระพุทธรูปบ้านโพธิ์ชัย ตามทะเบียนเลขที่ 0003720

ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2523 ประกาศในเล่ม 97 ตอนที่ 163 (ซึ่งต่อจากทะเบียนของพระพุทธรูปวัดโบราณเวียงเดิม (0003719) ในเล่มเดียวกัน พุทธสถานพระพุทธรูปโบราณโพธิ์ชัย ปัจจุบันเป็นสํานักสงฆ์บ้านป่ายางน้อย หมู่ที่ 10 ซึ่งอยู่ห่างวัดโพธิ์ชัยไปทางทิศเหนือประมาณ 200 เมตร ประชาชนได้ขุดพบเมื่อ พ.ศ. 2518 (ขุดได้หลัง พระพุทธรูปวัดโบราณเวียงเดิม 3 ปี) แต่มีพุทธลักษณะแตกต่าง จากพระพุทธรูปวัดโบราณเวียงเดิม คือ แตกต่างจากพระพุทธรูป เชียงแสนช่วงแรก ๆ กล่าวคือ พระพุทธรูปองค์นี้มีพระวรกาย ชะลูด ไม่อวบอ้วนแบบพระเชียงแสน พระพักตร์โหนกและยาวรี ละม้ายไปทางพระพุทธรูปแบบหริภุญชัย มีเส้นพระเกศาขมวดปมใหญ่ส่วนฐานพระพุทธรูปเป็นบัวบานที่มีเกสร คล้ายกับฐานพระพุทธรูปหินทรายตามแบบสกุลช่างพะเยาบางองค์ (ศรีศักร วัล ลิโภดม, 2545) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตัก กว้าง 1.35 เมตร สูง 1.59 เมตร จากงานวิจัยสู่หลักสูตรท้องถิ่นตําบลเวียงมหาใจ ต่อมาปี พ.ศ. 2530 ถูกกลุ่มมิจฉาชีพลักตัดเศียรเพื่อหาของมีค่าที่อยู่ใน

องค์พระพุทธรูป ทําให้เศียรพระเสียหายทั้งหมด ประชาชนชาวบ้านจึงได้สร้างเศียรขึ้นใหม่ประวัติศาสตร์การรับรู้ของคนในพื้นที่ ดังกล่าวแล้วข้างต้นว่า ประชาชนได้ขุดพบเมื่อ พ.ศ. 2518 (ขุดได้หลังพระพุทธรูปวัด โบราณเวียงเดิม 3 ปี) แต่มีพุทธลักษณะแตกต่างจากพระพุทธรูป วัดโบราณเวียงเดิม ต่อมาปี 2530 ถูกมิจฉาชีพลักตัดเศียรไปจึงได้จ้างช่างไพบูลย์ กาวีวงศ์ บ้านโพธิ์ชัย ปั้นเศียรขึ้นใหม่ให้องค์พระพุทธรูปสมบูรณ์เหมือนเดิม พ.ศ. 2531 คุณกิตติ จงพิพัฒนมงคล ไร่กิตติลักษณ์ เชียงรายได้มีจิตศรัทธามาสร้างวิหารครอบองค์พระพุทธรูป กว้าง 8 เมตร ยาว 14.50 เมตร แล้วได้ร่วมกันตั้งชื่อแก่พระพุทธรูปองค์นี้ใหม่ว่า “พระศรีศากยมุนีสมณโคดม” แล้วให้มีประเพณีสรงน้ำ พระพุทธรูปในวันขึ้น 8 ค่ํา เดือน 8 เหนือ (เดือน 6) ทุกปี ต่อมาทางหมู่บ้านโพธิ์ชัยได้แยกหมู่บ้านทําให้พุทธสถาน พระพุทธรูปโบราณอยู่ในเขตหมู่บ้านป่ายางน้อย หมู่ที่ 10 ตําบล เวียงเหนือ อําเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย และองค์พระพุทธรูปก็ชํารุด ทรุดโทรมมาก ทางวัดจึงได้ทําการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งองค์ แต่การบูรณะไม่ได้ขออนุญาตจากกรมศิลปากรตามระเบียบกฎหมายได้ทําการเคลื่อนย้ายโบราณสถานโดยพลการ

ป่ายางน้อย2.jpg
ป่ายางน้อย.jpg

     ผลการเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปโบราณจนเสียหาย จึงเป็นเหตุให้กรมศิลปากรฟ้องร้องผู้ดําเนินการทั้งหมด ซึ่งดําเนินการโดยไม่ได้ขออนุญาตจากกรมศิลปากรก่อน ขณะนี้เรื่องกําลังอยู่ในชั้นศาล หลักฐานทางโบราณคดี หลักฐานที่นับว่าเป็นหลักฐานทางโบราณคดี ได้แก่ พระพุทธรูปปูนปั้นติดที่ และตามทะเบียนเลขที่ 0003720

ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2553 ประกาศในเล่ม 97 ตอนที่ 163 ดังมีรายละเอียดกล่าวแล้วการกําหนดอายุสมัย โบราณสถานพระพุทธรูปบ้านป่ายางน้อยองค์นี้ มีการกําหนดอายุสมัยไว้ 2 ระยะคือ

     1.) หากใช้จารึกพวกดาบอ้ายเรือนเป็นหลักฐานในการสันนิษฐานการสร้างโบราณสถานของวัดโพธิ์ชัย ก็อนุมานอายุได้ว่า อายุอยู่ช่วง พ.ศ. 2027-2068

ตามที่มีข้อความระบุไว้ในจารึก บรรทัดที่ 1 ระบุ จ.ศ. 886 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2067

อันเป็นปลายรัชสมัยที่พระเมืองแก้วหรือพระเจ้าพิลกปนัดดาธิราชปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2038-2068) (ในประชุมจารึกล้านนา เล่ม 1 ว่า เป็น พ.ศ. 2068) ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติเชียงแสน อยู่ระหว่างศตวรรษที่ 20-21

     2.) หากใช้หลักฐานที่ นายศักร ศรีวัลลิโภดม สันนิษฐานไว้ คือก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 เพราะอิฐที่ใช้ในการก่อสร้างมีขนาดเล็กกว่าที่วัดโบราณเวียงเดิม และวัดพระธาตุผาเงา (ศักร ศรีวัลลิโภดม, 2545) แต่น่าเสียดายหลักฐานที่ นายศักร ศรีวัล ลิโภดมกล่าวไว้ถูกทําลายไปหมดแล้ว ไม่หลงเหลือให้ได้ศึกษา เรียนรู้อีกต่อไป

bottom of page