top of page

วัดปางไตรแก้ว

     วัดปางไตรแก้ว ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 บ้านไตรแก้ว ตําบล เวียงเหนือ อําเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย เดิมชื่อ บ้านสันผัก ประชากรส่วนใหญ่ย้ายมาจากจังหวัดลําปางมาตั้งถิ่นฐานที่ หมู่บ้านสันผักฮี้ และอีกกลุ่มหนึ่งมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาตั้งถิ่นฐานบ้านไตรแก้วเรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มไตรแก้ว ต่อมาสองกลุ่มนี้รวมตัวกันตั้งชื่อหมู่บ้านว่าบ้านสันผัก และขึ้นอยู่กับบ้านป่ายางมน ตําบลรอบเวียง อําเภอเมืองเชียงราย ต่อมา พ.ศ. 2493 มีประชากรประมาณ 89 ครัวเรือน จากนั้นทางการแยกตําบลเวียงชัย ออกจากตําบลรอบเวียง อําเภอเมืองเชียงราย จึงได้ขึ้นกับตําบลเวียงชัย และแต่งตั้งนายใจ หมั่นขันธ์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. 2497 และได้ลาออก จึงได้แต่งตั้งนายซื้อ หลักคํา เป็นผู้ใหญ่บ้านต่อมา และได้จัดสรรที่อยู่อาศัย และที่ดินทํากินให้คนละ 20 ไร่ และได้สร้างวัดขึ้นใกล้ ๆ ที่อยู่ของกลุ่มไตรแก้ว เรียกว่าวัดปางไตรแก้ว เพื่อเป็นที่ศึกษาเล่าเรียนของ บุตรหลานมีเนื้อที่ประมาณ 12 ไร่มีสามเณร อรุณ จิตเกษม และ สามเณรศรีวงศ์ จิตเกษม ซึ่งติดตามมารดามาจากเวียงป่าเป้า มาอยู่จําพรรษา ต่อมาได้สร้างโรงเรียนขึ้นกลางหมู่บ้าน 1 หลัง ปัจจุบันคือโรงเรียนบ้านเวียงเดิม พิกัด 19.9468° N, 99.9530° E

About

     ประวัติโบราณสถานและแหล่งโบราณคดี จารึกวัดปางไตรแก้ว และเศียรพระพุทธรูปประวัติศาสตร์การดําเนินงานในพื้นที่ ไม่พบประวัติการดําเนินงานการสํารวจจากกรมศิลปกรในพื้นที่ประวัติศาสตร์การรับรู้ของคนในพื้นที่ เศียรพระพุทธรูปปูนปั้นโบราณพบที่ (ซากปรักหักพังของ โบราณสถาน) ปางไตรแก้ว ซึ่งอยู่ในบริเวณบ้านของนายสุวิทย์ สีทอง และนางทองใส สีทอง สองสามีภรรยา (สุวิทย์ สีทอง, สัมภาษณ์, 2560) ซึ่งเจ้าของบ้านได้เล่าว่า เดิมที่สร้างบ้านนี้เป็น เนินสูง จึงได้ปรับพื้นที่ให้ราบเพื่อสร้างบ้านและทําเป็นไร่นา จึงได้ฐานเสาวิหาร เกศาพระพุทธรูป แขน และเศียรพระพุทธรูปขนาดใหญ่ วัดได้โดยรอบ 80 เซนติเมตร สูง 1 เมตร จึงได้นําโบราณวัตถุทั้งหมดไปไว้ที่วัดปางไตรแก้ว ต่อมาทางวัดปางไตรแก้ว ได้สร้างองค์พระขึ้นเพื่อรองรับเศียรพระพุทธรูปองค์ใหญ่ 1 เศียร องค์เล็กเก็บวางไว้ที่แท่นชุกชีของพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นให้จากเศียรพระพุทธรูปองค์เล็ก สันนิษฐานว่า มีการสร้างขึ้นในช่วงเดียวกับพระพุทธรูปปูนปั้นวัดโบราณเวียงเดิม คือ ต้นพระ ศตวรรษที่ 19 ในรัชสมัยของพระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่ง อาณาจักรล้านนา ได้สร้างองค์พระพุทธรูปปูนปั้นขึ้นรองรับเศียร ดังกล่าวเป็นพระประธานในศาลาเอนกประสงค์

IMG_1928.JPG

     หลักฐานทางโบราณคดี วัดปางไตรแก้ว มีหลักฐานที่ นับว่าเป็นโบราณคดี 2 ชิ้น ได้แก่ จารึกวัดปางไตรแก้ว และโบราณวัตถุ (เศียรพระพุทธรูปหินทราย)

     1.) จารึกวัดปางไตรแก้ว เป็นจารึกบนแผ่นหินทราย ด้วยอักษรฝักขาม มี 1 หลัก แต่หักเป็น 2 ท่อน ปัจจุบันจารึกหลักนี้ได้แสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์วัดโบราณเวียงเดิมจากจารึก ดังกล่าว เกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ ได้อ่านไว้ มีใจความโดยสรุปว่า เป็นการกล่าวถึงการกัลปนาทรัพย์สิน และคนให้กับวัด มีการกล่าวถึง บุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกล่าวถึง "เจ้าหมื่นด้ามพร้า" สันนิษฐานว่า หมายถึงหมื่นด้ามพร้าโคตรเสนาบดี คนสําคัญในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช ดังนั้น ปีก่าไส้ที่ระบุในจารึกตรงกับปี พ.ศ. 2016 ในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราชเช่นกัน สอดคล้องกับอายุพระพุทธรูปที่แสดงให้เห็นว่า วัดแห่งนี้มีมาแล้วอย่างน้อยในพุทธ ศตวรรษที่ 20 หรือก่อนหน้ารัชกาลพระเจ้าติโลกราช เห็นความสําคัญของวัดแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี

2.) โบราณวัตถุเศียรพระพุทธรูปหินทราย มี 2 ชิ้น ได้แก่ เศียรพระพุทธรูปขนาดใหญ่ วัดได้โดยรอบ 80 เซนติเมตร สูง 1 เมตร เมื่อพิจารณาจากหลักฐานที่พบพร้อมกันนั้น เป็นเศียรองค์พระพุทธรูปประธานในศาลาเอนกประสงค์ ที่ทางวัดได้สร้างองค์พระพุทธรูปขึ้นรองรับ ปัจจุบันไม่มีร่องรอยของเดิมแล้ว เนื่องจากได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เข้ากับองค์พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นรองรับ จึงไม่สามารถระบุอายุสมัยได้ และชิ้นส่วนเศียรพระพุทธรูปหินทรายขนาดเล็กอีกชิ้น หนึ่งซึ่งจัดแสดงไว้ที่ฐานพระพุทธรูปประธานในศาลาเอนกประสงค์ สันนิษฐานว่า โบราณวัตถุเศียรพระพุทธรูปปูนปั้น หินทราย วัดปางไตรแก้ว เป็นฝีมือช่างชาวบ้าน ไม่สามารถระบุอายุสมัยได้แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นยุคสมัยพุทธศตวรรษที่ 19 ยุคเดียวกับพระเจ้ากือนา การกําหนดอายุสมัย กําหนดแหล่งอายุจากอายุสมัยที่ปรากฏในจารึกหรือพงศาวดาร และอายุสมัยจากพัฒนาการทางศิลปะ จากเจดีย์ พระพุทธรูป เป็นต้น เศียรพระพุทธรูปปูนปั้นโบราณ ไม่สามารถวิเคราะห์รูปแบบศิลปกรรมได้

%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%
bottom of page