วัดท่าบันไดแก้ว
วัดท่าบันไดแก้ว ตั้งอยู่บ้านท่าบันได หมู่ที่ 1 ตําบลเวียงเหนือ อําเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ได้ก่อตั้งขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2474 โดย พ่ออุ้ยอ้าย ใจยั้งเงิน ได้นําชาวบ้านจากอําเภอเมืองเชียงราย ประมาณ 6 ครอบครัว มาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนที่บ้านปางยุง (ในอดีต) ต่อมามีชาวบ้านจากบ้านเวียงหวาย ตําบลแม่กรณ์ และ ตําบลบัวสลี
อําเภอเมืองเชียงราย ส่วนหนึ่งย้ายมาสมทบ ต่อมาได้แยกการปกครองออกจากบ้านป่ายางมน โดยตั้งชื่อหมู่ว่า “บ้านท่าบันได” เนื่องจากหมู่บ้านนี้มีทําเลติดกับแม่น้ำลาว (เส้นเดิม) ประชาชนบ้านปางยุง สันผักฮี้ จะใช้เรือเป็นพาหนะในการเดินทางเข้าตัวเมืองเชียงรายโดยแม่น้ำลาว (เส้นเดิม) เป็นร่องลึก จึงทําเป็นขั้นบันไดลงไปท่าเรือเพื่อเดินทางเข้าเมืองเชียงราย คนจึงตั้งชื่อหมู่บ้านลักษณะของการสัญจรในขณะนั้นว่า “บ้านท่าบันได”
โบราณสถาน/โบราณวัตถุภายในวัด โบราณวัตถุที่เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนในหมู่บ้าน คือ พระพุทธรูปหลวงพ่อขาว และพระสาวกมหากัจจายน์ซึ่งทั้งองค์เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น
พระพุทธรูปหลวงพ่อขาว เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 39 นิ้ว สูง 90 นิ้ว ไม่ปรากฏตํานานที่แน่ชัด แต่มีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า หลวงพ่อขาวเป็นพระพุทธรูปที่มีผู้นํามาไว้ที่วัดตั้งแต่สร้างวัดเมื่อ พ.ศ. 2474 เพื่อกราบสักการะบูชาและกล่าวกันว่าหัวใจของหลวงพ่อขาวนั้นบรรจุไว้ด้วยพระบรมสารีริกธาตุ (แต่ไม่ทราบว่าส่วนใด)
ต่อมาชาวบ้านได้สร้างศาลาการเปรียญหลังใหญ่ขึ้นแต่หลวงพ่อขาวเป็นองค์เล็ก ๆจึงได้จําลองหลวงพ่อขาวให้เป็นองค์ใหญ่เหมาะสมกับศาลาการเปรียญ โดยคุณครูยุทธ์ ไม่ทราบนามสกุล ซึ่งเป็นครูสอนที่โรงเรียนบ้านเวียงเดิมในขณะนั้น (ทองจันทร์ เทพ สาย, สัมภาษณ์, 4 พฤศจิกายน 2562) เป็นช่างปั้นพระพุทธรูปจําลองหลวงพ่อขาว แต่ส่วนโมลีทางช่างได้พัฒนาเอาแบบสุโขทัยมาปั้นใส่ (ไม่เหมือนหลวงพ่อขาว) ด้วยช่างเชื่อว่า การสร้างพระพุทธรูปในยุคนั้นต้องคํานึงถึงวัฒนธรรมไทยในขณะนั้น เพื่อให้ถูกเพ่งเล็งว่าเป็นผู้ทําให้เกิดการแตกแยกทางวัฒนธรรม – ขณะเดียวกันก็สร้างพระพุทธรูปหลวงพ่อจําลององค์เล็กองค์หนึ่ง หน้าตักกว้าง 2 คืบ สูง 30 นิ้ว เพื่อนําไว้ในกุฏิเจ้าอาวาสได้กราบไหว้สักการะบูชา
ซึ่งวัดท่าบันได เป็นที่ประดิษฐาน "หลวงพ่อขาว" มีอายุประมาณ 50-60 ปีเป็นที่เคารพสักการะของคนในหมู่บ้าน เมื่อชาวบ้านสร้างวัดใหม่ ศาลาหลวงพ่อขาวแต่ก่อนศาลาเก่าๆ เป็นศาลาโล่งมีฝา เป็นศาลาติดกำแพง เขาสร้างศาลา แล้วจึงสร้างพระพุทธรูปหลวงพ่อขาวขึ้นมาเพื่อให้เป็นที่เคารพบูชาของคนในหมู่บ้าน และทาสีขาวเพราะเป็นอิฐเป็นปูนสร้างเป็นองค์ ก็เลยเรียกหลวงพ่อขาว เอาไว้กราบไหว้หลวงพ่อขาวชาวบ้านช่วยกันสร้างที่หัวใจพระเจ้า ชาวบ้านที่มีความศรัทธาก็จะนำเข็ม แผ่นทอง สิ่งของมีค่าต่าง ๆ มาช่วยสร้างและบรรจุไว้ในหัวใจพระเจ้า และคนที่บ้านชื่อครูยุทธ์ (ไม่ทราบนามสกุล) เป็นผู้มาสร้าง
พระสาวกมหากัจจายน์ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นเช่นเดียวกับพระพุทธรูปหลวงพ่อขาว เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันได้เล่าว่า คนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังว่า เป็นพระสาวกที่มีมาพร้อมกับหลวงพ่อขาว แต่ได้มาอย่างไร ใครนํามาไม่มีใครทราบ เพียงแต่คนเฒ่าคนแก่เล่าว่า พระมหากัจจายน์เป็นพระที่มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ซึ่งเดิมท่านมีรูปงามคนทั้งหลายมักติดในรูปของท่าน ท่านจึงเนรมิตกายตนให้มีรูปร่างที่อ้วนใหญ่เทอะทะ ใครมองแล้วไม่อยากติดตามอีก คนโบราณเห็นว่าท่านเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์จึงสร้างไว้กราบสักการะเอาไว้สัจจะอธิษฐานขอพรจากท่าน ให้สมประสงค์ดั่งที่ท่านได้ขอกายของท่านจากผู้ที่รูปหล่อรูปงามเป็นผู้ที่มีรูปทรามไม่น่าพิศวาท มีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่งมีคนในหมู่บ้านมาเห็นพระมหากัจจายน์ องค์นี้แล้วหัวเราะขบขันในความไม่สวยงามของพระมหากัจจายน์ ปรากฏว่ากลับไปบ้านเกิดอาการปวดท้องโดยไม่รู้สาเหตุ กินยาก็ไม่หาย นึกได้ว่าได้ไปหัวเราะใส่พระมหากัจจายน์
ที่วัดท่าบันไดแก้ว จึงไปขอขมา ผลปรากฏว่าหายจากการเจ็บปวดท้องอย่างปลิดทิ้ง
ชาวบ้านที่อาศัยในชุมชนบ้านท่าบันไดจะจัดกิจกรรมงานปอย และงานทำบุญต่าง ๆ ที่วัดท่าบันไดแก้ว ซึ่งเป็นศูนย์รวมของชาวบ้าน มีการตกแต่งวัดอย่างสวยงามและรวมกันบริจาคบูรณะปฏิสังขรณ์วัด เช่น การปรับปรุงหอฉันท์ ซึ่งผู้บริจาคมักจะอุทิศบุญให้กับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่ล่วงลับ รวมถึงมีกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นการบูรณะวัดให้มีความสวยงาม เช่น การจัดทำแปลงดอกไม้ให้มีความร่มรื่น การเรียนรู้การประดิษฐ์ดอกไม้สีเหลืองประดับประดาภายในวัด ในช่วงพระราชทานเพลิงศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และกิจกรรมปอยหลวงในช่วงวันที่ 17 มีชาวบ้านร่วมกันเป็นช่างฟ้อนมาจากหลายหมู่บ้าน เช่น บ้านป่าไผ่ บ้านสันทราย มาร่วมงาน เป็นต้น
ในวันที่ 22 เป็นงานประเพณีสรงน้ำหลวงพ่อขาว แต่เนื่องจากในปีนี้ (พ.ศ. 2561) มีการทำบุญสร้างกุฏิ มีผ้าป่าทำบุญหอฉันท์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีความใกล้เคียงกัน
จึงได้รวมกันจัดงานทำบุญในครั้งเดียว ซึ่งเป็นงานบุญที่มีความยิ่งใหญ่ เพราะเป็น
การรวบรวมศิลปะนาภฏศิลป์ของท้องถิ่น เช่น การซอ การฟ้อน การเซิ้ง โดยมีชาวบ้านเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 100 คน รวมถึงผู้มีศรัทธาจากต่างจังหวัดเช่น ลำพูน และเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังมีผู้นำผ้าป่ามารวมบุญจากทางกรุงเทพฯ
จึงทำให้เห็นประเพณีและความสำคัญของท้องถิ่น
ประเพณีวัฒนธรรมของวัด วัดท่าบันไดแก้ว มีประเพณีวัฒนธรรมที่ทําประจําทุกปี ได้แก่
-
ประเพณีทําบุญตักบาตรในวันธรรมสวนะ
-
วันสําคัญทางพระพุทธศาสนา
-
วันสําคัญของชาติ
-
ทําบุญทานข้าวใหม่ เดือน 4 เป็ง (เพ็ญเดือนยีภาคกลาง)
-
ทําบุญเข้าพรรษา-ออกพรรษา
-
ทําบุญประเพณีเดือนยี่เป็ง (เพ็ญเดือน 12 ภาคกลาง)
-
ทําบุญปีใหม่เมือง (สงกรานต์)
-
ประเพณีสรงน้ําหลวงพ่อขาวประจําปี ขึ้น 8 ค่า เดือน 6 เหนือ