top of page

พุทธสถานพระเจ้ากือนา

%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD_edi

     พุทธสถานพระเจ้ากือนา เป็นแหล่งโบราณสถานที่สำคัญของตำบลเวียงเหนือ เป็นที่เคารพของชุมชนในตำบลเวียงเหนือ ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำกก หมู่ที่ 8 บ้านไตรแก้ว ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ปัจจุบันอยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือ และเป็นสถานที่สำคัญในการจัดกิจกรรมทางพุทธศาสนา ภายในบริเวณโบราณสถานมีความร่มรื่นและมีต้นไม้ใหญ่อยู่มากมาย และมีผู้ดูแลสถานที่ 2 คน คือ นายอุดม หาญแก่น อายุ 54 ปี และ นางศรีแก้ว หาญแก่นอายุ 53 ปี มีหน้าที่ดูแลสถานที่และจัดเตรียมดอกไม้เพื่อขายให้กับผู้ที่มาสักการะหลวงพ่อใหญ่กือนา

     ตามตำนาน เล่าว่า พระเจ้ากือนา กษัตริย์ องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์เม็งรายทรงครองราชย์ ในพ.ศ. 1898 - 1928 เมื่อแรกประสูติ มีพระนามว่า "ท้าวตื้อนา" เพราะว่าบ้านเมืองสงบร่มเย็นปราศจากสงคราม ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ พอเจริญวัยขึ้นได้พระราชนาม "กือนาธรรมมิกราช" เมื่อว่างจากราชกิจ ทรงเสด็จมายังเมืองเชียงแสน และเดินทางโดยเรือมาตามลำน้ำกก ทรงแวะประทับแรมบริเวณริมฝั่งแม่น้ำกก และสร้างเมืองใหม่เรียกว่า "เวียงกือนา" และสร้างพระพุทธรูป

"หลวงพ่อใหญ่กือนา" ประดิษฐานให้เป็นที่เคารพสักการะแก่ผู้สัญจรและผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำกก เมื่อ อาณาจักรโยนก และล้านนาล่มสลาย เวียงกือนาจึงกลายเป็นเมืองร้าง ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่

20190305_๑๙๐๓๐๗_0081.jpg
59906_edited.jpg

     นอกจากตำนานของพระเจ้ากือนาแล้ว ข้อมูลจากเว็ปไซด์ เชียงรายโฟกัส ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว ได้เล่าถึงตำนานของเวียงกือนาที่มีความคล้ายกัน คือ ตำนานพระเจ้ากือนา ซึ่งเป็นคำบอกเล่าของ พ่อหนานอรุณ จิตเกษม บ้านไตรแก้ว ว่าในปีพุทธศักราช 2400 มีพระเจ้าพังคราช ผู้เป็นเจ้าเมืองโยนกนาคพันธุ์ อยู่ในการปกครองของขอม เมืองกุมงคเสลา พระเจ้าพังคราชมีโอรส 2 พระองค์ พระองค์แรกชื่อว่าทุกขิตกุมาร พระองค์ที่ 2 ชื่อว่า พรหมกุมาร เนื่องจากอยู่ภายใต้การปกครองของขอม ซึ่งไม่อนุญาตให้มีบุตรชาย ถ้ามีให้ฆ่าเสียด้วยกลัวว่าจะมาชิงเมืองคืน มเหสีของพระเจ้าพังคราชเมืองทรงพระครรภ์จึงได้หนีเข้าป่า เมือประสูติออกมาเป็นโอรสจึงมอบถวายให้ฤาษีเป็นผู้เลี้ยงดู และวิชาความรู้ต่างๆให้ ครั้งเมื่อเจริญพระชันษาขึ้น ได้นำทัพชาวไทขับไล่ขอมจนพ้นเขตแดน แล้วจึงได้เดินทางกลับ เมื่อมาถึงฝั่งน้ำกุกนทีหรือน้ำกก ได้สร้างพระพุทธรูปไว้ 2 ฝั่งน้ำ ทุกขิตกุมาร สร้างพระพุทธรูปทางฝั่งซ้าย พรหมกุมารสร้างทางฝั่งขวา ทำการสักสาระบูชาแล้วเสร็จกลับไปครองบ้านเมือง ต่อมาอีก ๕๐๐ ปี สมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราชครองเมืองเชียงใหม่ พระองค์เป็นชาวเมืองเชียงแสน เมื่อว่างจากราชกิจ ได้เสด็จไปเยี่ยมเมืองเชียงแสน อยู่เนืองๆ โดยเสด็จเส้นทางลำน้ำกก พระองค์เป็นผู้บูรณะ ปฏิสังขรณ์ พระพุทธรูปทั้ง 2 องค์ เข้าใจว่าเป็นสถานที่พักแรมของการสัญจรทางน้ำในขณะนั้น จากนั้นทรงสร้างเวียงขึ้นเพื่อรักษาพระพุทธรูปดังกล่าว จึงได้นามตามที่ประชาชนเรียกขาน ซึ่งตำนานหนึ่งกล่าวว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าแสนทวี ที่ปกครองเมืองเชียงรุ้ง อาณาจักร

ไทโบราณ ต่อมาเมืองได้ล่มสลายลง มีสภาพเช่นเดียวกับเวียงหนองล่ม หรือเกาะแม่หม้าย ภายหลังมีการบูรณปฏิสังขรณ์หลายครั้งจนถึงสมัยพระเจ้ากือนาหลวงพ่อใหญ่กือนา สร้างด้วยอิฐถือปูน มีขนาดกว้าง 6 ศอก สูง 6 ศอก สันนิฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1928 ปัจจุบัน พระพุทธรูปใน มีต้นไม้โอบล้อมไว้ทั้งองค์ ทำให้ยากที่จะมองเห็นได้อย่างเด่นชัด ต้องพิจารณาและสังเกตจึงจะสามารถมองเห็น พระพักตร์ ดวงตา พระเกศา ซึ่งยังมีบางส่วนที่ต้นไม้ยังไม่ได้โอบล้อม จึงเป็นความสวยงามของหลวงพ่อใหญ่กือนา

     นอกจากนี้ ภายในบริเวณโบราณสถานพระเจ้ากือนา ยังแสดงเรือไม้ตะเคียนโบราณ มีความกว้าง 67 เซนติเมตร ความยาว 13 เมตร 46 เซนติเมตร ค้นพบ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2552 โดย นายนอง ญาวิชัย และนายณัฐพงษ์ ศิริชัย ซึ่งค้นพบวริเวณแม่น้ำกก หมู่บ้านไตรแก้ว และได้แจ้งให้ นายปฐมพงษ์ ฤทธิแผลงและนายไว ขจรคำ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือ เข้ามาตรวจสอบเพื่อดำเนินการขุดเรือขึ้นจากแม่น้ำกก และในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552 พร้อมด้วยชาวบ้านจำนวน 20 คน ช่วยกันขุดเรือไม้ตะเคียนโบราณขึ้นมาจากแม่น้ำกกและนำมาจัดแสดงไว้ให้ประชาชนได้ชมความสวยงามและสักการะบูชา

    ปัจจุบันพุทธสถานพระเจ้ากือนา ได้รับการบูรณะและพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว และเป็นสถานที่ทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาของตำบลเวียงเหนือ เช่น การเวียนเทียนเมื่อมีวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันมาฆบูชา กิจกรรมปีใหม่เมือง  ประเพณีลอยกระทง ซึ่งในช่วงเดือนเมษายน ของทุกปี เป็นเทศกาลงานปี๋ใหม่เมืองของชาวล้านนาตำบลเวียงเหนือได้จัดกิจกรรม สรงน้ำหลวงพ่อใหญ่กือนา ซึ่งได้รับความร่วมมือร่วมใจของชุมชนตำบลเวียงเหนือทั้ง 12 หมู่บ้าน โดยมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสรงน้ำหลวงพ่อใหญ่กือนา การแห่ขบวนนางงามทั้ง 12 หมู่บ้าน การตั้งร้านค้าขายของริมชายหาดแม่น้ำกก รวมถึงมีการ  ประดับตกแต่งสถานที่ไปด้วยดอกไม้และเครื่องสักการะต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชมชนในพื้นที่ที่มีเที่ยว และสักการะหลวงพ่อใหญ่กือนาให้เป็นศิริมงคล รวมถึงชาวบ้านที่อยู่อำเภอใกล้เคียง เช่นอำเภอเวียงเชียงรุ้ง เป็นต้น

Anchor 1
bottom of page