top of page

วัดราษฎร์เจริญ

     วัดราษฎร์เจริญ ตั้งอยู่เลขที่ 59 หมู่ 4 บ้านราษฎร์เจริก ตําบลเวียงเหนือ อําเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย แต่เดิมคก ศรัทธาประชาชนได้ทําบุญประจําอยู่ ณ วัดพนาลัยเกษม บริเวณหมู่บ้านเหล่านี้เป็นป่าดงพงไพรมีไม้นานาชนิด สัตว์ป่าน้อยใหญ่ก็มีมากมาย เช่น ช้าง เสือ หมี กวาง ฟาน งู ไก่ป่า นานาพันธุ์ ฯลฯ นอกจากป่าไม้นานาชนิดแล้ว โดยเฉพาะยังมีไม้ไผ่พันธุ์หนึ่ง ชาวภาคเหนือเรียกว่า “ไม้บง” เป็นทิวแถว มองไปทางไหนก็เห็นแต่ไม้ ไผ่ชนิดนี่แหละ ดูกว้างยาวสุดลูกหูลูกตา จึงพากันขนานนามหมู่บ้านว่า “บ้านป่าบงขวาง” ขณะนั้นเป็นหมู่ที่ 10 ตําบลสันทราย อําเภอเมืองเชียงราย

     ในหมู่บ้านมีประชาชนจากหลาย ๆ แห่ง อพยพมาอยู่เพราะอุดมสมบูรณ์ด้วยน้ำสําหรับทําการเกษตรปลูกข้าวกล้าได้ดี และมักเรียกกลุ่มที่อยู่ทางเหนือน้ำว่า “บ้านเหนือ” กลุ่มที่อยู่ทางใต้น้ำาว่า “บ้านใต้” ทางกลุ่มบ้านเหนือส่วนใหญ่จะอพยพมาจากบ้าน ปล้อง อําเภอเทิง ส่วนบ้านใต้จะมาจากบ้านม่วงคํา ทุ่งพราย อําเภอพาน และบ้านเด่นห้าหน้าค่ายเม็งรายมหาราช ประชาชนต่างมาจับจ้องที่ทํากินกันเองตามแต่กําลังใครจะแผ้วถางได้ ดังนั้นผู้ที่ขยันมากก็ได้ที่ดินมาก ผู้ที่ขยันน้อยก็ได้ที่ทํากินน้อย และไปทำบุญถวายทานกันที่วัดพนาลัยเกษมซึ่งตั้งอยู่ในแถบ “บ้านเหนือ” พอสมควร แต่ส่วนใหญ่ในกลางพรรษาจะไม่ได้ไป เพราะเดินทางลําบากมาก จะไปทําบุญกัน

วันเข้าพรรษา ออกพรรษา ประเพณียี่เป็ง ประเพณีเดือนสีเป็ง สงกรานต์ (ปีใหม่) เท่านั้น เพราะเกรงอันตรายจากสัตว์ร้ายบ้าง ทางไปเป็นโคลน เป็นป่า ไม่สะดวก แต่ด้วยใจยึดมั่นในพระพุทธศาสนา ประชาชนก็ไม่ย่อท้อในการทําบุญต่อมาได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นใหม่ โดยมีพระคําปัน ถิรญาโณ (ปัจจุบันพระครูสุวรรณถิรคุณ มรณภาพแล้ว) วัดทุ่งพร้าว อําเภอพาน ได้เดินทางมาเยี่ยมญาติที่บ้านป่าบงขวาง ทางคณะศรัทธา ประชาชนและญาติ ๆ จึงชักชวนให้สร้างวัดขึ้นทาง “บ้านใต้” เพราะไม่สะดวกกับการไปทําบุญที่วัดพนาลัยเกษม (บ้านเหนือ) ซึ่งในขณะนั้น มีศรัทธาประชาชนในแถบบ้านใต้นี้ประมาณ 70 หลังคาเรือน โดยตั้งวัดขึ้น ณ สถานที่ที่เป็นซากปรักหักพังของวัดเก่าหรือพระบรมธาตุเก่าที่ชํารุดไปแล้ว คงเหลือแต่ซากอิฐ และพระพุทธรูปที่เศียรขาด แขนขาด ที่ตรงนั้นชาวบ้าน เรียกว่า "สันพระเจ้า" (ปัจจุบันคือที่ตั้งของโรงเรียนบ้านค่ายเจริญ หรือคู่บ้านค่ายเจริญ) รอบ ๆ บริเวณเป็นป่าทึบ หลวงพ่อคําปันบอกว่าใกล้ ๆ ค่ำา หรือกลางคืนจะได้ยินเสียงเสือ หมี ช้าง ร้อง ตลอดเวลา ทําให้ไม่ปลอดภัยต่อชีวิต เพราะตั้งอยู่ไกลบ้านเรือน 

     ราษฎรเวลาเจ็บป่วยก็ช่วยเหลือไม่ทัน และบริเวณนั้นก็มี วัดเก่า ธาตุเก่าปรากฏอยู่ เช่น อิฐ พระเครื่องที่ได้ เป็นต้นปี พ.ศ. 2493 มีสามเณรแก้ว เป็นไข้มาลาเรียและได้มรณะภาพ เพราะชาวบ้านช่วยเหลือไม่ทัน จึงปรารภกันว่าควรจะย้ายที่ตั้งจาก “สันพระเจ้า” ไปอยู่ใกล้ ๆ หรือกลางหมู่บ้านจะดีกว่า เมื่อได้ปรึกษาหารือกันแล้ว ก็ขอซื้อที่บ้านพ่อตา อินยะ 250 บาท พ่อปวน ชุมทา 800 บาท และนายอ้าย เถรนิยม 2,000 บาท ซึ่งอยู่ติดกับลําน้ําแม่ลาวหลง แต่ชาวบ้านมักเรียกว่า “แม่ลาวห่าง”

%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%

     (ปัจจุบันเป็นลําเหมืองสาธารณะอยู่ทางทิศใต้ของวัด) และเป็นที่ตั้งในปัจจุบัน และภายหลังหลวงพ่อคําปัน ถิรญาโณ ได้อนุญาต ให้ “สันพระเจ้า” ที่ตั้งวัดเดิมนั้นตั้งเป็นโรงเรียนประชาบาลบ้านป่าบงขวาง เพื่อเป็นที่ศึกษาเล่าเรียนของลูกหลานชาวบ้าน

ป่าบงขวาง ในหมู่บ้านป่าบงขวางนี้มีซากปรักหักพังของวัดเก่า พระบรมธาตุเก่ามากมายติด ๆ กันไป มีเกือบทุก 1 กิโลเมตรก็ว่าได้ ทําให้ประชาชนและพระเณรในสมัยนั้นมักนิยมไปขุดตามซากปรักหักพัง เพื่อค้นหาของเก่า เช่น พระเครื่อง ถ้วยโถโอชามเก่า เป็นต้น ประวัติโบราณสถานและแหล่งโบราณคดี ประวัติศาสตร์การดําเนินงานในพื้นที่จากกรมศิลปกรหลักฐานจารึกกู่บ้านค่ายเจริญ 1 แผ่น และพระพุทธรูปหินทรายที่สมบูรณ์ทั้งองค์ 1 องค์ประวัติศาสตร์การรับรู้ของคนในพื้นที่ ปี พ.ศ. 2495 ช่วงหลังสงกรานต์ คณะศรัทธาและพระภิกษุสามเณรวัดราษฎร์เจริญ นําโดยสามเณรพุธ เชื่อเมืองพาน และนายจํารัส วงค์จักร ได้พาสามเณรประมาณ 4-5 รูป ออกขุดหาพระเครื่องตามสถานที่ซากปรักหักพังตามวัดเก่า ธาตุเก่า ไปหลายๆ แห่งรอบๆ รัศมี 1 กิโลเมตร ในช่วงนั้นเป็นฤดูฝนด้วย ฝนตกพรําๆ ที่ไปขุดในฤดูฝนก็เพราะดินไม่แข็งทําให้ขุดง่าย วันขึ้น 15 ค่ำา เดือน 8 เหนือ (เพ็ญเดือน 6) วันวิสาขบูชา ได้ไปขุดซากพระบรมธาตุร้างที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวัด เรียกบริเวณนั้นว่า “ท่าปู่ใหม่” หรือ “กิ่วบ่าหลอด” (ปัจจุบันเป็นเขตติดต่อบ้านค่ายเจริญ กับ บ้านสันสลิด) มีต้นไทรต้นขนาดใหญ่อยู่ ขณะขุดอยู่นั้นก็มีฟ้าร้อง ฝนตก ทําให้ขุดได้ง่าย ไม่นานก็เจอพระพุทธรูปหินทราย 3 องค์ เศียรขาดทั้ง 3 องค์ แต่องค์ใหญ่ 2 องค์นั้น เหลือแต่ลําตัว องค์เล็กมีเพียงแต่เศียรขาดตกอยู่ใกล้ ๆ คณะที่ขุดพบจึงจับเศียรเข้าต่อดู ปรากฏว่าได้พอดีกับองค์พระ จึงพากันเรียกว่า “พระองค์น้อย” หรือ “พระหินน้อย” แต่ก็มีบางคนว่าต้องเรียกว่า “หลวงพ่อสิงห์น้อย” เพราะเป็นพระสิงห์สามองค์น้อย จากนั้นก็ได้อาราธนาพระพุทธรูปหินน้อย หรือสิงห์น้อย ไปประดิษฐานไว้ที่วัดราษฎร์เจริญจนถึงปัจจุบัน (ประวัติวัดราษฎร์เจริญ, 2552) ส่วนพระธาตุสุวรรณมิ่งมงคล เป็นพระธาตุที่สร้างขึ้นใหม่ สถานที่เป็นซากโบราณสถานเดิมซึ่งมีฐานของเจดีย์ที่ขุดพบขณะสร้างพระธาตุองค์ใหม่นี้ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2551 ใช้เวลาสร้างเป็น เวลา 1 ปี โดยได้นําพระบรมสารีริกธาตุจากพม่า อินเดีย ศรีลังกา และไทย เข้าบรรจุไว้ในพระธาตุด้วยเพื่อเป็นที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป

     หลวงพ่อหินน้อยหรือหลวงพ่อสิงห์น้อยนี้ มีหน้าตักกว้าง 21 นิ้ว สูง 32 นิ้ว สร้างด้วยหินทราย ปัจจุบันประดิษฐาน ณ พระธาตุสุวรรณมิ่งมงคลวัดราษฎร์เจริญ แต่สร้างสมัยใดไม่ปรากฏ แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นการสร้างในช่วงที่พระเจ้ากือนามาสร้างหลวงพ่อใหญ่กือนา ที่ฝั่งแม่น้ำกก หลักฐานทางโบราณคดี โบราณวัตถุวัดราษฎร์เจริญ มีหลักฐานที่นับว่าเป็นหลักฐานทางโบราณคดีมี 2 ชนิด ได้แก่ จารึกกู่บ้านค่ายเจริญ และพระพุทธรูปหินทรายสิงห์น้อย มีรายรายละเอียดดังนี้

     1.) จารึกกู่บ้านค่ายเจริญ เป็นจารึกบนแผ่นหินสีเทา ตามหลักฐานที่กรมศิลปากร ขึ้นทะเบียนไว้ว่า อักษรจารึกเป็นอักษรไทยสุโขทัย ศักราชไม่ปรากฏ แต่กําหนดเป็น “จารึกพุทธศตวรรษที่ 21-23 รูปศิลาจารึกเป็นลักษณะรูปใบเสมา แต่แตก เพียงด้านขวาส่วนบน มีการจารึก 2 ด้าน 14 บรรทัด ปัจจุบันอยู่ที่วัดมิ่งเมือง อําเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เนื้อที่จารึกสรุปได้ว่า เป็นคําอธิษฐานของผู้สร้างพระพุทธรูป 1,000 องค์ ขอให้ได้พบพระศรีอริยเมตไตรย์ ได้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน และวงศ์ตระกูลจงได้รับอานิสงส์ผลบุญโดยทั่วกัน เป็นต้น จึงสันนิษฐานว่า พระพุทธรูปหินทรายวัดราษฎร์เจริญองค์นี้ น่าจะเป็นกลุ่ม พระพุทธรูป 1,000 องค์ ที่ผู้สร้างได้สร้างไว้ค้ำชูพระพุทธศาสนา ดังกล่าว

     2.) พระพุทธรูปหินทรายสิงห์น้อย หรือหลวงพ่อสิงห์น้อย เป็นโบราณวัตถุพุทธ ศิลปกรรม พระพุทธรูปหินทราย หลวงพ่อสิงห์น้อย มีสภาพสมบูรณ์ โดยนําประดิษฐาน ไว้บนพระธาตุสุวรรณมิ่งมงคล และพระธาตุสุวรรณมิ่งมงคลก็อยู่ ในสภาพที่สมบูรณ์เพราะมีการสร้างขึ้นใหม่ทับบนพื้นที่เดิมของ เจดีย์โบราณ

%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%
%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%

     โบราณวัตถุพระพุทธรูปหินทรายหลวงพ่อสิงห์น้อย ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด แต่เมื่อเทียบกับพุทธรูปหินทรายของวัดลี อําเภอเมืองพะเยา และพระพุทธรูปหินทรายที่วัดศรีโคมคํา อําเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา พบว่ามีลักษณะที่คล้ายกันมาก ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยพระครูวิมลศิลปกิจ (2559) ได้กล่าวไว้ว่า พระพุทธรูปหินทราย ในหมวดที่ 1 ของสกุลช่างพะเยานี้ มาปรากฏหลักฐานสําคัญที่พระพุทธรูปวัดรางกลางทุ่งนา ตําบลเวียงเหนือ อําเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย และพระพุทธรูปโบราณบ้านเวียงเดิม เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางรูปแบบกันอย่างชัดเจน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์การไปมาหาสู่ของคนที่ปรากฏอยู่ในสมัยนั้น เป็นการถ่ายเทวัฒนธรรม ศิลปะให้แก่กันและกันระหว่างพะเยาล้านนา และสุโขทัย ดังนั้นพระพุทธรูปหินทรายสกุลช่างพะเยาในหมวดแรกอาจกําหนดอาย อยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 19 ตามพุทธลักษณะที่ปรากฏของ พระพุทธรูปสิงห์น้อย มีลักษณะที่น่าสังเกต ดังนี้

     1.) วัสดุที่นํามาแกะสลัก เป็นหินทรายซึ่งนิยมนํามา แกะสลักพระพุทธรูปศิลปะ

สมัยล้านนากลุ่มช่างพะเยา

     2.) พุทธลักษณะรูปแบบศิลปะ เห็นได้ชัดจากรูปทรง พระวรกายจะมีลักษณะส่วนสูงที่ชะลูด ซึ่งแตกต่างจากศิลปะ ล้านนาสมัยเชียงแสนสิงห์หนึ่ง

     3.) ผ้าสังฆาฏิมีลักษณะเหมือนกลุ่มพระพุทธรูปศิลปะ ล้านนาพะเยา มีลักษณะปลายสังฆาฏิยาวไปถึงพระนาภี (สะดือ หรือหน้าท้อง)

     4.) ลักษณะนั่งขัดสมาธิราบบนธานกระดานเรียบ ลักษณะพระเศียร ประกอบด้วย พุทธลักษณะพระเนตรมองเหมือนคนง่วงนอน พระศกเป็นลักษณะเป็นเม็ดพระศกที่แกะแบบหยาบๆ เป็นตาราง พระเกศมาลา แสดงลักษณะบัวตูม ซึ่งจะเห็นได้ชัดจากรูปที่นํามาเปรียบเทียบ

     5.) พระศอเป็นปล้องสูงมีลักษณะชูพระเศียรให้สง่างาม ซึ่งแตกต่างจากสมัยเชียงแสนล้านนา พระสิงห์ 1 ซึ่งลักษณะพระเศียรและพระวรกาย จะมีมวลที่อวบอ้วนให้สมส่วนกับพระศอที่ตั้ง ตรง (มานิตย์ กันทะสัก, 2561)

bottom of page