top of page

วัดโพธิ์ชัย

Headliner
About

     จากการสัมภาษณ์ พระครูวิจารณ์นวกิจ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา เล่าว่าสถานที่นี้ ในสมัยก่อนเป็นป่ารก  ต่อมามีการบุกเบิกเพื่อเข้ามา

จับจองเป็นที่นา และพบว่าบริเวณนี้มีกู่เก่า ชาวบ้านจึงช่วยกันขุดบริเวณกู่นั้นปรากฏพบ แก้ว แหวน เงิน ทอง ของมีค่าสมัยโบราณและพบพระทองสำริดขนาด 5 นิ้ที่เป็นพระสิงห์

     ตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ เล่าว่าในอดีตสถานที่นี้ ก่อนเดือน 6 เป็งจะมีดวงแก้วลอยออกมาให้พบเห็นบริเวณ กู่หรือเจดีย์นี้ ต่อมาชาวบ้านจึงรวมกลุ่มกัน โดยมีแกนนำคือ พ่ออุ้ยทรง เครือยุทธ สร้างพระธาตุขึ้นใหม่และทำให้สถานที่นี้เป็นวัดต่อไป และมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุโพธิ์ชัย ในวันก่อนวัน 15 ค่ำ เดือน 6 เหนือ คือ

14 ค่ำ เดือน 5 เหนือ เพราะหากจัดวัน 6 เป็ง ตรงกับสรงน้ำธาตุดอยตุง ซึ่งเป็นกิจกรรมประจำปีของวัดโพธิ์ชัย มีการแห่ขบวนที่ยิ่งใหญ่ทุกปี นอกจากวัดโพธิ์ชัย ความสวยงามตามแบบวิถีของชาวบ้านเวียงเหนือแล้ว

About

     โบราณสถานพระธาตุเจดีย์วัดโพธิ์ชัย ตั้งอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย หมู่ที่ 7 บ้านโพธิ์ชัย ตําบลเวียงเหนือ อําเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย มี พระครูวิจารณ์นวกิจ เป็นเจ้าอาวาส พระธาตุเจดีย์วัดโพธิ์ชัยเป็นโบราณสถาน องค์แรกของตําบลเวียงเหนือ ที่สร้างขึ้นโดยช่างท้องถิ่น เพื่อจะรักษาโบราณสถานที่มีซาก ปรักหักพังมากมายไว้มิให้คนพวกที่เสาะหาขุดเจาะสถานที่เก่า กู่เก่า ซึ่งกองโบราณสถานแห่งนี้ ชาวบ้านเคยเห็นความมหัศจรรย์ เกิดขึ้น คือ มีลูกแก้วลอยขึ้นจากตรงโบราณสถานนี้ขึ้นไปสู่ท้องฟ้าล่องลอยไปมา เหมือนการโยกเล่นโยกไปโยกมา ชาวบ้านจึงเชื่อว่า นั้นคือพระบรมสารีริกธาตุออกมาปรากฏให้พุทธศาสนิกชนได้เห็น ชาวบ้านสันต้นหนุน (ในขณะนั้น) จึงได้ สร้างพระธาตุทับที่ซากเจดีย์เดิม และในขณะนั้นมีการขุดก่อสร้างพระธาตุ ได้พบพระสิงห์สําริด

ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว 1 องค์ ชาวบ้านจึงได้นําบรรจุไว้ในพระธาตุจนถึงปัจจุบัน

Services: About

    ประวัติโบราณสถานและแหล่งโบราณคดี พบหลักฐานที่ เป็นจารึก 1 แผ่น คือ จารึกพวกดาบอ้ายเรือน ประวัติศาสตร์การรับรู้ของคนในพื้นที่ โบราณสถานพระธาตุวัดโพธิ์ชัย เป็นพระธาตุที่พบในช่วงแรก ๆ ของอําเภอ เดิมเป็น พระธาตุเก่าหรือทางล้านนาเรียกว่า “กู” ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสามสายเก่า และเกิดการพังทลายลง จากนั้นชาวบ้านในชุมชนได้มีการ สํารวจและขุดค้นพื้นที่เพื่อสร้างวัด ในปี พ.ศ. 2508 ทําให้พบ พระพุทธรูปสําริดหน้าตักกว้างประมาณ 5 นิ้ว ซึ่งมีลักษณะเป็น พระพุทธรูปล้านนาในกลุ่มสิงห์ 3 นอกจากนี้ยังพบวัตถุโบราณในบริเวณนั้น เช่น เครื่องปั้นดินเผา ประเภทหม้อ ไห เครื่องถ้วย เครื่องเคลือบ เป็นต้น (บุญชัย วงค์สุภา, สัมภาษณ์

2 ธันวาคม 2560) นอกจากนี้ ชาวบ้านในชุมชนได้ร่วมกันสร้างพระธาตุขึ้นใหม่โดยทุกคนถือว่ามาร่วมกันบูรณะพระธาตุเก่าแก่ที่มีพระบรมสารีริกธาตุประจําอยู่จึงได้ร่วมกันนำแก้ว แหวน เงินทอง สิ่งของมีค่า และวัตถุโบราณบรรจุเข้าไปในพระธาตุ และทาสีพระธาตุ ด้วยสีขาวล้วน และต่อมาได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุใหม่ (พระครูวิจารณ์นวกิจ, สัมภาษณ์ 12 ธันวาคม 2560)

     พระธาตุ เป็นสถาปัตยกรรมแบบท้องถิ่นล้านนา เพราะเป็นช่างชาวบ้านช่วยกันทําโดยการนําของพระคําปัน วงค์สุภา เป็นคนนําศรัทธา สาธุชนสร้างขึ้นบริเวณใกล้เคียงกับพระธาตุเป็นซากปรักหักพัง เศษอิฐ ซึ่งวิเคราะห์ไม่ได้ หลักฐานทางโบราณคดี หลักฐานที่นับว่าเป็นหลักฐานทาง โบราณคดี ได้แก่ จารึกพวกดาบอ้ายเรือนมีรายละเอียดดังนี้ จารึกพวกดาบอ้ายเรือน เป็นจารึกพบที่เขตพื้นที่ตําบลเวียงชัย อําเภอเวียงชัย ซึ่งห่างออกไปทางทิศใต้ประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นการจารึกด้วยอักษรฝักขาม มี 1 ด้าน 12 บรรทัด มีเนื้อความ พอสรุปได้ว่า พ.ศ. 2067 กษัตริย์เชียงใหม่มีพระราชโองการ แต่งตั้งให้เจ้าพวกดาบเรือน เป็นเจ้าพันธสังฆการีเชียงรายมีอํานาจผูกพัทธสีมาในวัด สันนิษฐานว่า พระธาตุวัดโพธิ์ชัย และพระพุทธรูปโบราณบ้านป่ายางน้อย อาจเป็นยุคสมัยเดียวกันกับ จารึกพวกดาบอ้ายเรือน เนื่องจากจารึกพวกดาบอ้ายเรือนพบที่ลุ่มแม่น้ำลาว (หลง) ทางน้ำเส้นเดียวกันผ่านมาที่ข้างพระธาตุวัดโพธิ์ชัย จึงเป็นไปได้ว่าอยู่ระหว่างศตวรรษที่ 20-21 การกําหนดอายุสมัย หากใช้จารึกพวกดาบอ้ายเรือน หลักฐานในการสันนิษฐานการสร้างโบราณสถานของ

วัดโพธิ์ชัย ก็อนุมานอายุได้ว่า อายุอยู่ช่วง พ.ศ. 2027-2068 มีข้อความระบุไว้ในจารึกบรรทัดที่ 1 ระบุ จ.ศ. 886 ซึ่งตรง กับ พ.ศ. 2067 อันเป็นปลายรัชสมัยที่

พระเมืองแก้วหรือพระเจ้า พิลกปนัดดาธิราชปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2038-2068) (ในประชุมจารึกล้านนา เล่ม 1 ว่าเป็น พ.ศ. 2068) ปัจจุบันอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติเชียงแสน

Services: About
bottom of page